หากไม่ได้ลดหย่อน แต่ละปีคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่กันนะ

02 ตุลาคม 66
หากไม่ได้ลดหย่อน แต่ละปีคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่กันนะ

 

ใกล้สิ้นปีเป็นช่วงเวลาที่ทุกท่านต้องเตรียมตัวและจัดการเรื่องภาษีของตัวเองให้เรียบร้อย ก่อนที่จะไปพักผ่อนหย่อนใจในเทศกาลปีใหม่กับคนที่เรารักได้อย่างเต็มที่


สำหรับประชาชนผู้มีเงินได้ แน่นอนว่าก็ต้องมาพร้อมกับหน้าที่ตามกฏหมายที่จะต้องเสียภาษี โดยกฏหมายได้ระบุรูปแบบของเงินได้ที่จะต้องเสียภาษี ไว้ 8 ประเภท

เงินได้ประเภทที่ 1  เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
เงินได้ประเภทที่ 2  เงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือจากการรับทำงานให้
เงินได้ประเภทที่ 3  ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มา
                             จากพินัยกรรม นิติกรรม อย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล
เงินได้ประเภทที่ 4  ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร   เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
เงินได้ประเภทที่ 5  เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงินหรือประโยชน์อย่างอื่น
เงินได้ประเภทที่ 6  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม
                             การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือ วิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้
เงินได้ประเภทที่ 7  เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ
                             ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ 
เงินได้ประเภทที่ 8  ได้แก่ เงินได้อื่นๆ ที่ไม่เข้าข่ายเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1-7

กองทุนลดหย่อนภาษี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.rd.go.th/553.html

 

แต่ส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ มักตกเป็นรายได้ประเภทที่ 1 ซึ่งก็คือ เงินเดือน และโบนัสต่างๆ แต่ไม่ว่าจะเป็นเงินได้รูปแบบใด เราก็สามารถเอารายรับของเราทั้งปีมาคำนวณจำนวนเงินภาษีคร่าวๆ อย่างง่ายได้ ด้วยตารางด้านล่างนี้

ที่มา กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/59670.html

 

เมื่อคำนวณออกมาแล้วก็อย่าพึ่งตกใจไป เพราะเราสามารถลดจำนวนเงินได้สุทธินี้ลงได้ด้วยค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ซึ่งหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับการลดหย่อนภาษี ก็คือ การลงทุนในกองทุนรวม SSF และกองทุนรวม RMF

ตัวอย่างเช่นหากเรามีเงินได้ทั้งปี 410,000 บาท เมื่อหลังหักค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าใช้จ่าย และส่วนอื่นๆ แล้ว เหลือเงินได้สุทธิอยู่ที่ 200,000 บาท หากไม่ได้ซื้อ SSF/RMF เลย ก็จะตกฐานรายได้ที่ต้องเสียภาษี แต่หากเราซื้อกองทุนรวม SSF หรือ RMF ไป 50,000 บาท ก็จะทำให้เงินได้สุทธิของเราเหลือเพียง 150,000 บาท ซึ่งเข้าข่ายไม่เสียภาษี ดังนั้นหากระหว่างปีบริษัทฯเรามีการหักภาษีจ่ายไปล่วงหน้าแล้ว หลังเรายื่นภาษีและส่งหลักฐานการลดหย่อนได้สำเร็จ กรมสรรพากรก็จะคืนเงินภาษีนั้นให้แก่เรานั่นเอง

 

 

ทำความรู้จักกับ กองทุน SSF และ กองทุน RMF

กองทุน SSF คือ กองทุนรวมเพื่อการออม
กองทุน RMF คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ

ทั้ง 2 กองทุน ใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งคู่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนได้นำเงินมาเก็บออมไว้ใช้ในชีวิตหลังเกษียณผ่านการลงทุนระยะยาว ที่มีเงื่อนไขในการขายออก พูดง่ายๆ คือถูกบังคับห้ามขายคืนออกมาระหว่างทางจนกว่าจะเข้าเกณฑ์ที่กำหนด


โดยทั้ง 2 กองทุนมีลักษณะที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่มีเงื่อนไขบางจุดที่ต่างกัน ดังนั้นทุกท่านควรจะต้องศึกษาให้เข้าใจก่อนตัดสินใจเลือกลงทุน เพื่อให้เหมาะกับตัวเองมากที่สุด

ดูข้อมูลกองทุน คลิกที่นี่
สนใจเปิดบัญชีกองทุน 
คลิกที่นี่



เปิดบัญชีหุ้น